เรซิ่นเกรดหล่อทั่วไป

เป็นโพลิเอสเตอร์เรซิ่นที่สามารถใช้ในงานหล่อได้หลากหลาย มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง สามารถปรับอัตราส่วนการผสม FILLER (สารเพิ่มเนื้อ) , เคมีผสมเรซิ่น และผสมสีผสมเรซิ่นที่เหมาะสมกับการทำงานและผลผลิตนั้นๆได้ โดยผู้ใช้งานควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนเริ่มใช้งาน

ขั้นตอนการใช้งาน

เรซิ่นหล่อทั่วไปสามารถใช้งานหล่อได้หลากหลาย วิธีการทำงานแต่ละชิ้นงานจึงแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานนั้นๆ

  • เตรียมแม่พิมพ์และอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มผสมเรซิ่น

    แม่พิมพ์ - อาจะเป็นยางซิลิโคน เรซิ่นไฟเบอร์กล๊าส โลหะ พลาสติก ยางพารา ฯลฯ ควรสะอาดและสมบูรณ์ไม่มีตำหนิ
    กันติดผิวแม่พิมพ์ - แม่พิมพ์หรือพื้นผิวที่ต้องการเทเรซิ่นลงไป บางวัสดุเมื่อเรซิ่นแข็งตัวอาจยากต่อการถอดแบบหรือแกะชิ้นงานแล้วอาจเสียหายได้ สามารถใช้สารกันติดทาหรือพ่นบนชิ้นงานก่อนได้ เช่น แว๊กซ์ถอดแบบ ซิลิโคนสเปรย์ น้ำยา PVA เป็นต้น
    อุปกรณ์ - ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการผสมเรซิ่น เพื่อความพร้อมก่อนขั้นตอนการเทหล่อที่มีเวลาจำกัด
    ภาชนะผสม - เลือกภาชนะที่เพียงพอต่อปริมาณเรซิ่นที่จะผสม แนะนำใช้ภาชนะพลาสติกที่ไม่แข็งและเปราะ เพราะเรซิ่นจะกัดพลาสติกได้ ภาชนะต้องไม่เปียกชื้นและสะอาด
    ตาชั่ง - เลือกใช้ตาชั่งดิจิตอล สามารถหักน้ำหนักภาชนะได้ แสดงผลน้ำหนักเป็นทศนิยมได้ และเมื่อใช้ผสมควรใช้ตาชั่งตัวเดียวกันตลอดการทำงาน
    ไม้คนผสม - จำเป็นที่ต้องใช้ไม้คนแบนๆ เพื่อการกวาด คนได้ทั่วถึงกว่า เช่นไม้ไอติม ไม้พายเป็นต้น ห้ามใช้ไม้คนทรงเรียวกลม เช่นตะเกียบ หรือด้ามพู่กัน
    ผ้าเช็ด - ใช้เศษผ้าชนิดใช้แล้วทิ้ง สีไม่ตก สามารถเช็ดแล้วทิ้งได้เลย เพราะเมื่อเช็ดสารเคมีไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่
    น้ำยาล้าง - อาซีโทน ใช้ชุบเศษผ้าเช็ดอุปกรณ์และมือหากเปื้อนเรซิ่นได้ อาจใช้สบู่หรือผงซักฟอกทำความสะอาดตามได้
    อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย - ควรใช้ ผ้าปิดจมูก หน้ากาก ผ้ากันเปื้อน ถุงมือ ป้องกันร่างกายขณะทำงานเรซิ่น

  • อัตราส่วนและการผสม

อัตราส่วนผสมเรซิ่นที่เหมาะสม

เรซิ่นโคบอลท์ (ตัวม่วง)ตัวทำแข็งสารเพิ่มเนื้อ
เรซิ่นหล่อทั่วไป1000.51-2ไม่ผสม
เรซิ่นหล่อทั่วไป + สารเพิ่มเนื้อ1000.51แคลเซียม


*ทั้งนี้สามารถปรับตามการใช้งานและปัจจัยโดยรอบ

ส่วนผสมที่จำเป็นต่อการแข็งตัวของเรซิ่นคือโคบอลท์ (ตัวม่วง) และตัวทำแข็ง อัตราส่วนผสมจะแบ่งส่วนโดยน้ำหนัก เช่นใช้เรซิ่น 100 กรัม ผสมโคบอลท์ 0.5 กรัม และตัวทำแข็ง 1-2 กรัม เป็นต้น

โคบอลท์ - มีหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเรซิ่นให้เรซิ่นแข็งตัวเป็นของแข็งได้สมบูรณ์ การเพิ่มปริมาณโคบอลท์ช่วยให้ผิวเรซิ่นมีความเหนียวลดน้อยลง แต่ก็จะทำให้เรซิ่นเซ็ตตัวเร็วขึ้น หากลดปริมาณก็จะเซ็ตตัวช้าลงและอาจมีผิวที่เหนียวเหนอะ

ตัวทำแข็งเรซิ่น - มีหน้าที่ช่วยให้เรซิ่นที่ผสมโคบอลท์แล้วแข็งตัว

เพิ่มปริมาณตัวทำแข็งเรซิ่น : ช่วยให้เรซิ่นเซ็ตตัวเร็วขึ้น อาจมีฟองอากาศตกค้าง อัตราการหดตัวเยอะขึ้น เรซิ่นมีความร้อนสูงขึ้น และอาจร้อนจนเกิดการแตกเสียหายได้

ลดปริมาณตัวทำแข็ง : เซ็ตตัวช้า มีเวลาไล่ฟองอากาศ หดตัวน้อยลง ความร้อนต่ำลง

สารเพิ่มเนื้อ - หากผสมสารเพิ่มเนื้อจะทำให้เรซิ่นข้นหนืด และมีผลทำให้เรซิ่นแห้งตัวเร็วขึ้น จึงต้องลดอัตราส่วนของตัวทำแข็งลง

- เรซิ่นที่ไม่ผสมโคบอลท์หรือตัวทำแข็งเรซิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะไม่ทำปฏิกิริยาและไม่แข็งตัว

- โคบอลท์ต้องผสมในเรซิ่นก่อนเสมอ  ห้ามนำโคบอลท์และตัวทำแข็งเรซิ่นผสมเข้าด้วยกันโดยลำพังอย่างเด็ดขาดจะทำให้เกิดความร้อนสูงและอาจเกิดอันตรายได้

- การผสมเรซิ่นในปริมาณที่ต่างกันมีผลต่อการทำฏิกิริยาเรซิ่น ยิ่งปริมาณเรซิ่นมากขึ้น ความร้อนจากการทำปฏิกิริยาจะสูงขึ้น ทำให้เรซิ่นเซ็ตตัวเร็วขึ้น และหดตัวมากขึ้นด้วย กรณีที่ความร้อนสูงจัดอาจทำให้เรซิ่นเกิดเป็นรอยแตกร้าวได้
>ยิ่งผสมเรซิ่นมากขึ้นควรลดอัตราส่วนทำแข็งลง เช่น

เรซิ่นโคบอลท์ (ตัวม่วง)ตัวทำแข็งอัตราส่วน
(เรซิ่น : โคบอลท์ : ตัวทำแข็ง)
100 กรัม0.5 กรัม2100 : 0.5 : 2
 1,000 กรัม0.5 กรัม10 กรัม*100 : 0.5 : 1

*ตัวอย่างการลดอัตราส่วนของตัวทำแข็งลงเมื่อปริมาณการผสมต่อครั้งมากขึ้น

  • เทเรซิ่นลงแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้
    การหล่อเรซิ่นลงแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ ควรระมัดระวังการตกข้างของฟองอากาศ หรือเรซิ่นเข้าไปไม่ทั่วทุกรายละเอียดของแม่พิมพ์ อาจเทหรือทาเรซิ่นบางส่วนลงแม่พิมพ์ก่อนและเกลี่ยเรซิ่นให้ทั่วด้วยแปรงหรือใช้มือช่วยบีบแม่พิมพ์ได้ จากนั้นจึงเทเรซิ่นส่วนที่เหลือตามเข้าไปในแม่พิมพ์

  • ทิ้งเรซิ่นให้เซ็ตตัวเป็นของแข็งและแห้งตัวสมบูรณ์
    เรซิ่นจะเริ่มเซ็ตตัวจากของเหลวเป็นเจลก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นของแข็งในที่สุด ควรพักเรซิ่นและแม่พิมพ์ไว้ในที่อากาศถ่ายเท ไม่อยู่ในห้องแอร์หรือที่ชื้น จะทำให้เรซิ่นแห้งช้ายิ่งขึ้น ทั้งนี้ระยะเวลาการเซ็ตตัวจนแห้งสมบูรณ์ขึ้นอยู่กับการผสมโคบอลท์ ตัวทำแข็ง สารเพิ่มเนื้อ และ สีด้วย

  • ถอดเรซิ่นที่แข็งตัวแล้วออกจากแม่พิมพ์

  • หลังจากเรซิ่นเซ็ต

  • จะได้ชิ้นงานเรซิ่นเนื้อแข็งจากการหล่อ

  • สามารถขัด แต่ง เจาะ ทำสี หรือเคลือบบนชิ้นงานเรซิ่นได้