ใบเสนอราคา
ตะกร้าสินค้า
icon search

อีพ็อกซี่เรซิ่นหล่อใส 300

อีพ็อกซี่เรซิ่นหล่อใส 300

  • เนื้อเหลว ใส
  • คนผสมและไล่ฟองอากาศง่าย
  • แห้งแล้วแข็ง ทนทาน ไม่เปราะแตกง่าย
  • ใช้หล่อใส หล่อทั่วไปชิ้นงานศิลปะได้หลากหลาย
มีจำหน่าย :
มีสินค้า
SKU
4202112202082
- +

CLEAR CAST EPOXY RESIN 300

อีพ็อกซี่หล่อใส เหลว ใส เซ็ตตัวแล้ว แข็ง ทนทาน / หล่อใสชิ้นงานศิลปะต่างๆ / หล่อโมเดล-หุ่นจำลอง / เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ / เครื่องประดับ-พวงกุญแจ ฯลฯ

อีพ็อกซี่เรซิ่น 2 ส่วน (A และ B) มีลักษณะเนื้อเหลว ใส มีกลิ่นอ่อนขณะทำงาน เมื่อผสมเข้าด้วยกันแล้วจะทำปฏิกิริยาเกิดความร้อนและเริ่มเซ็ตตัว เมื่อเซ็ตตัวแล้วมีความแข็ง ทนทาน เหนียว ไม่เปราะ เหมาะสำหรับงานเทหล่อลงพื้นผิวหรือแม่พิมพ์ต่างๆได้ดี สามารถขัด แต่ง เจาะ เคลือบ หรือทำสีได้

อีพ็อกซี่ 300AB จะแบ่งเป็น 2 PART คือ

  1. 300A เป็นเนื้ออีพ็อกซี่ ลักษณะ เหลว เหนียว ใส
  2. 300B เป็นตัวทำแข็งอีพ็อกซี่ ลักษณะเหลว สีใสอมเหลืองเล็กน้อย

อัตราส่วนผสม
อีพ็อกซี่ 300A กับ อีพ็อกซี่ 300B

2 : 1 (A= 2 ส่วน : B= 1 ส่วน) โดยน้ำหนัก *

เวลาเซทตัวประมาณ 40 นาที และแห้ง 4-6 ชม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้านล่างนี้

การเซ็ตตัวของอีพ็อกซี่

  • ระยะเวลาทำงานและเวลาเซ็ตตัวขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยเช่นปริมาณการผสมแต่ละครั้ง อุณภูมิห้อง ความชื้น เป็นต้น
    • ปริมาณการผสมต่อครั้ง ยิ่งมาก ความร้อนยิ่งสูง เวลาทำงานจะสั้นลง และเซ็ตตัวเร็ว
    • ความหนาของชิ้นงาน หากเทลงบนพิมพ์หรือพื้นที่ที่มีความหนามากภายในครั้งเดียวก็จะทำให้ ความร้อนยิ่งสูง เวลาทำงานจะสั้นลง และเซ็ตตัวเร็ว
    • อุณหภูมิบรรยากาศขณะทำงาน ยิ่งสูง ยิ่งทำให้เวลาทำงานและเวลาเซ็ตตัวเร็วขึ้น
    • ความชื้นบรรยากาศขณะทำงาน ยิ่งมาก ยิ่งทำให้อีพ็อกซี่เซ็ตตัวช้าลง
  • อัตราส่วนผสมโดยน้ำหนัก ควรใช้ตาชั่งเพื่อชั่งผสมตามอัตราส่วนแต่ละ PART ไม่ควรใช้การกะปริมาณหรือการตวง จะทำให้อัตรส่วนผิดพลาดจากความเป็นจริง
    • เช่น การผสม 2:1 ใช้ 300A = 100 กรัม ผสมกับ 300B = 50 กรัม เป็นต้น
  • อัตราส่วน สามารถปรับเพิ่ม-ลด PART B ได้เพื่อควบคุมเวลาทำงานและการแห้งของอีพ็อกซี่
    • หากเพิ่ม PART B จะเป็นการเร่งให้อีพ็อกซี่แห้งเร็วขึ้น (ไม่ควรเพิ่ม PART B ในงานที่มีความหนามาก)
    • หากลด PART B จะเป็นการชะลอการเซ็ตตัว แต่หากลด PART B จนน้อยเกินไป ในงานที่มีความบางมาก อาจทำให้การเซ็ตตัวของอีพ็อกซี่ไม่สมบูรณ์ (ไม่แห้ง ผิวเหนียว หรือ แห้งแล้วนิ่มไม่แข็งเท่าที่ควร) อัตราส่วนที่แนะนำจึงอยู่ที่ 2:1 (A:B)

คุณสมบัติของอีพ็อกซี่หล่อใส 300 มีความเหลว ใส จึงเหมาะกับงานหล่อใส หรืองานหล่อทั่วไป ผู้ใช้งานจะได้รับความสะดวกจากความเหลวที่สามารถคนผสมง่าย และไล่ฟองอากาศได้ดี สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานหล่อได้ทั่วไป ทั้งการเทบนพื้นผิวงานหรือเทลงในแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ

ตัวอย่างการนำไปใช้

  • งานหล่อใส / หล่อทั่วไป สำหรับงานศิลปะ ทั้งการเทลงบนพื้นผิว และการเทหล่อในแม่พิมพ์
    หุ่นจำลอง โมเดล Art toy น้ำเทียม กระจกเทียม ฯลฯ
  • งานหล่อเครื่องประดับ / ผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก-กลาง
    เครื่องประดับ พวงกุญแจ จานรองแก้ว ฯลฯ
  • งานหล่อ เคลือบ เฟอร์นิเจอร์
    โต๊ะ เก้าอี้ แจกัน โคมไฟ ฯลฯ

ข้อควรรู้ก่อนเริ่มใช้งาน

อุณหภูมิโดยรอบพื้นที่ทำงานมีผลต่อการทำปฏิกิริยาของเรซิ่น ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงานอยู่ที่ 28-30 องศาเซลเซียส
> อุณหภูมิสูง - ยิ่งเร่งปฏิกิริยา ทำให้อีพ็อกซี่เซ็ตตัวเร็วขึ้น
> อุณหภูมิต่ำ - อีพ็อกซี่จะเซ็ตตัวช้าลง 

ความชื้นมีผลต่อการทำปฏิกริยาของอีพ็อกซี่อย่างมาก หากมีความชื้นในบริเวณที่ทำงานสูง ความชื้นอาจส่งผลให้การเซ็ตตัวของอีพ็อกซี่เกิดไปฝ้าขาวบนผิวงานได้ แต่ทั้งนี้อีพ็อกซี่หล่อใส 300 มีคุณสมบัติพิเศษที่ต้านทานความชื้นได้ดีกว่าอีพ็อกซี่ทั่วไปอยู่แล้ว

อีพ็อกซี่อาจแห้งตัวไม่สมบูรณ์หากพื้นผิวนั้นๆมีความเปียกชื้น หรือมีสารเคมีอื่นๆตกค้าง ผู้ใช้งานควรเตรียมผิวให้แห้งและสะอาดก่อน อีพ็อกซี่มีคุณสมบัติยึดเกาะพื้นผิวได้ดีจึงมีโอกาสยึดติดอย่างถาวรกับแม่พิมพ์ทุกชนิด ในกรณีที่เทลงแม่พิมพ์อาจจะต้องทาสารกันติด (Mold Release) ก่อน เพื่อการถอดแบบที่ง่ายยิ่งขึ้น และป้องกันการเสียหายจากการแกะชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์

อีพ็อกซี่ไม่สามารถผสมสีชนิดอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็นสีสูตรน้ำ หรือสูตรน้ำมัน จึงต้องใช้สีสำหรับผสมเรซิ่นโดยเฉพาะ
สีผสมเรซิ่น -  อีพ็อกซี่สามารถผสมสีลงไปในเนื้อได้เลย โดยสีที่ผสมมีทั้งชนิดสีทึบและสีใส ไม่มีอัตราส่วนตายตัว สามารถเพิ่มลด ตามความเข้ม-อ่อนที่ต้องการ 
แนะนำให้ผสมลงไปในเนื้ออีพ็อกซี่ PART A แล้วคนเนื้อสีให้เข้ากันก่อนที่จะผสม PART B ทั้งนี้การผสมที่มากขึ้นอาจทำให้อีพ็อกซี่เซ็ตตัวช้าลงได้
อีพ็อกซี่หล่อใส 300 สามารถผสมสารเพิ่มเนื้อ (Filler) ต่างๆ เพื่อปรับคุณสมบัติของเนื้ออีพ็อกซี่ได้ สารเพิ่มเนื้อมักจะมีลักษณะเป็นผงคล้ายแป้ง ควรผสมลงในเนื้ออีพ็อกซี่ PART A ก่อน ยิ่งผสมในปริมาณมากเนื้ออีพ็อกซี่เรซิ่นจะหนืดข้นยิ่งขึ้น ทำให้คนผสมยาก ทำงานยากขึ้นและมีโอกาสที่มีฟองอากาศตกค้างในชิ้นงานสูง
แคลเซียม - ผสมเพื่อเพิ่มเนื้อเรซิ่น, ลดการหดตัว, เพิ่มความแข็งแรง, เพิ่มมวลอีพ็อกซี่ และสามารถขัดแต่งได้ง่ายยิ่งขึ้น ผสมแล้วเนื้ออีพ็อกซี่จะทึบสีขาวเทาอมเหลือง อัตรส่วนผสมไม่ควรเกิน 70% ของ Part A ทีใช้

- ผสมสารเคมี สี หรือสารเพิ่มเนื้อ (ถ้ามี) ลงใน PART A แล้วคนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- ผสม PART B เมื่อพร้อมหล่อชิ้นงาน และคนผสมให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว ด้วยไม้คนแบนๆ อย่างต่ำ 3 นาที
- อีพ็อกซี่ยังคงเป็นของเหลว มีเวลาทำงานก่อนที่อุณหภูมิจะเริ่มเพิ่มสูงขึ้น
- อุณหภูมิสูงขึ้น อีพ็อกซี่จะเริ่มหนืดและเปลี่ยนเป็นเจล
- แข็งตัวเป็นของแข็ง
- อีพ็อกซี่เย็นตัวลง เป็นของแข็ง พร้อมแกะออกจากแม่พิมพ์หรือทำงานต่อ
* ทั้งนี้การทำงานทุกครั้งควรรอปฏิกริยาเคมีให้เสร็จสมบูรณ์เป็นเวลา 24 ชม.

ขั้นตอนการใช้งาน

เตรียมพื้นผิวหรือแม่พิมพ์และอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มผสมอีพ็อกซี่
พื้นผิว - ที่เตรียมไว้เพื่อหล่อทับ ควร สะอาดและแห้งสนิท ไม่ปนเปื้อนสารเคมีอื่นๆ
แม่พิมพ์ - อาจะเป็นยางซิลิโคน เรซิ่นไฟเบอร์กล๊าส โลหะ พลาสติก ยางพารา ฯลฯ ควรสะอาดและสมบูรณ์ไม่มีตำหนิ
กันติดผิวแม่พิมพ์ - แม่พิมพ์หรือพื้นผิวที่ต้องการเทอีพ็อกซี่ลงไป ควรใช้สารกันติดทาบนชิ้นงานก่อน เช่น แว๊กซ์ถอดแบบ
อุปกรณ์ - ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการผสมอีพ็อกซี่ เพื่อความพร้อมก่อนขั้นตอนการเทหล่อที่มีเวลาจำกัด
ภาชนะผสม - เลือกภาชนะที่เพียงพอต่อปริมาณอีพ็อกซี่ที่จะผสม ภาชนะต้องไม่เปียกชื้นและสะอาด
ตาชั่ง - เลือกใช้ตาชั่งดิจิตอล สามารถหักน้ำหนักภาชนะได้ แสดงผลน้ำหนักเป็นทศนิยมได้
   และเมื่อใช้ผสมควรใช้ตาชั่งตัวเดียวกันตลอดการทำงาน
ไม้คนผสม - จำเป็นที่ต้องใช้ไม้คนแบนๆ เพื่อการกวาด คนได้ทั่วถึงกว่า เช่นไม้ไอติม ไม้พายเป็นต้น
   ห้ามใช้ไม้คนทรงเรียวกลม เช่นตะเกียบ หรือด้ามพู่กัน 
ผ้าเช็ด - ใช้เศษผ้าชนิดใช้แล้วทิ้ง สีไม่ตก สามารถเช็ดแล้วทิ้งได้เลย เพราะเมื่อเช็ดสารเคมี
   ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่
น้ำยาล้าง - อาซีโทน สำหรับเช็ดล้างอุปกรณ์และเช็ดทำความสะอาดมือได้
   อาจใช้สบู่หรือผงซักฟอกทำความสะอาดตามได้
อุปกรณ์ป้องกัน - ควรใช้ ผ้าปิดจมูก หน้ากาก ผ้ากันเปื้อน ถุงมือ ป้องกันร่างกายขณะทำงานเรซิ่น
อุปกรณ์เสริม - เครื่องแวคคั่มสำหรับดูดฟองอากาศ หัวพ่นไฟไล่ฟองบนผิวงาน 

อัตราส่วนผสม

Part A
(โดยน้ำหนัก)

Part B
(โดยน้ำหนัก)

Working Time (min.)
เวลาการทำงาน (นาที)

Curing Time (hr.)
เวลาเซ็ตตัว (ชม.)

Demold Time
เซ็ตตัวสมบูรณ์

Suggest Thickness
ความต่อรอบที่แนะนำ
10050404-624< 5 ซม.
*สามารปรับเพิ่ม PART B ได้ จะทำให้อีพ็อกซี่เซ็ตตัวและแห้งเร็วขึ้น แนะนำสำหรับชิ้นงานที่มีความหนา <1 ซม.แล้วเซ็ตตัวช้าเกินไป
*ไม่ควรปรับลด PART B น้อยกว่า อัตราส่วนที่กำหนด
*ความหนาของชิ้นงานและปริมาณการผสมอีพ็อกซี่ในแต่ละครั้ง มีผลต่อระยะเวลาทำงาน เวลาเซ็ตตัว และ เวลาแห้งตัว 
  • ยิ่งหนายิ่งทำให้เซ็ตตัวเร็วขึ้น
  • ยิ่งบางการเซ็ตตัวยิ่งช้าลง

การผสม

- หากมีสารเคมีปรุงแต่ง สี หรือสารเพิ่มเนื้อ ควรผสมลงอีพ็อกซี่ PART A ก่อน แล้วคนเข้ากันให้เป็นเนื้อเดียว จากนั้นพักทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้ฟองอากาศขึ้นให้หมดก่อน
- ชั่งน้ำหนักผสม PART B ตามอัตราส่วน
* การคนผสมควรใช้ไม้คนแบนๆ คนให้ทั่วภาชนะผสมอย่างเบาๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 3 นาที
* ไม่ควรใช้การคนแรงๆ หรือเครื่องปั่นแรงๆ จะทำให้เป็นการตีฟองอากาศไปในตัว
หากมีเครื่องแวคคั่ม (เครื่องดูดอากาศ) สามารถแวคคั่มหลังจากการคนผสมทั้ง 2 PART เข้าด้วยกัน ระยะเวลาการแวคคั่มขึ้นอยู่กับปริมาณการผสมแต่ละครั้ง โดยสังเกตุการดันตัวของอากาศในเนื้ออีพ็อกซี่ที่น้อยลงและเกือบหมดก็ต่อเมื่อเนื้อฟองไม่ดันตัวสูงเหมือนเดิมขณะแวคคั่ม

การหล่ออีพ็อกซี่ลงแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ ควรระมัดระวังการตกข้างของฟองอากาศ หรืออีพ็อกซี่เข้าไปไม่ทั่วทุกรายละเอียดของแม่พิมพ์ อาจเทหรือทาอีพ็อกซี่บางส่วนลงแม่พิมพ์ก่อนและเกลี่ยให้ทั่วด้วยแปรงหรือใช้มือช่วยบีบแม่พิมพ์ได้ จากนั้นจึงเทอีพ็อกซี่ส่วนที่เหลือตามเข้าไปในแม่พิมพ์

เราสามารถใช้ไฟแช็กหรือหัวพ่นไฟบนงานอีพ็อกซี่ได้ เพื่อไล่ฟองอากาศบนผิวงาน ควรทิ้งระยะห่างไม่ให้เปลวไฟโดนเนื้ออีพ็อกซี่โดยตรง อาจทำให้ผิวงานเป็นรอยด่างหรือไหม้ได้

อีพ็อกซี่จะเริ่มเซ็ตตัวจากของเหลวเป็นเจลก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นของแข็งในที่สุด ควรพักอีพ็อกซี่และแม่พิมพ์ไว้ในที่อากาศถ่ายเท ไม่อยู่ในห้องแอร์หรือที่ชื้น จะทำให้อีพ็อกซี่แห้งช้ายิ่งขึ้น และมีโอกาสเกิดเป็นฝ้าขาวที่ผิวงาน

ทั้งนี้ควรทิ้งอีพ็อกซี่เรซิ่นให้เซ็ตตัวเกิน 24 ชม.เพื่อการทำปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ ก่อนที่จะนำไปใช้งานหรือทำงานต่อ
* ก่อน 24 ชม. อีพ็อกซี่อาจเซ็ตตัวเป็นของแข็งแล้ว แต่ผิวอาจมีความเหนียว เมื่อไปจับโดนอาจเกิดเป็นรอยติดที่ผิวงานได้ หรือชิ้นงานภายในความแข็งอาจไม่ถึง 100% อาจทำให้รูปร่างงานผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงได้
หลังจากอีพ็อกซี่เซ็ตตัวสมบูรณ์

สามารถขัด แต่ง เจาะ ทำสี หรือเคลือบบนชิ้นงานเรซิ่นได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

ความหนาการเทต่อรอบของ อีพ็อกซี่หล่อใส 300 แนะนำอยู่ที่ไม่เกิน 10 มม. ทั้งนี้เราสามารถเททับเป็นชั้นๆเพื่อเพิ่มความหนาให้ชิ้นงาน หรือการสร้างสรรค์สีเป็นชั้นๆได้ โดยการเททับหลังจากชั้นก่อนหน้าเริ่มเซ็ตตัวแล้ว

การเททับชั้นก่อนหน้าขณะเริ่มเซ็ตตัว
เราสามารถเทอีพ็อกซี่รอบใหม่ทับชั้นก่อนหน้าได้ขณะอีพ็อกซี่ชั้นก่อนหน้านั้นกำลังเซ็ตตัว สังเกตุโดยเนื้ออีพ็อกซี่ไม่เป็นของเหลวแล้ว ใช้มือแตะดูแล้วเกิดเป็นรอยนิ้วมือและมีผิวที่เหนียว แต่ต้องไม่มีเนื้ออีพ็อกซี่ติดนิ้วขึ้นมา อีพ็อกซี่ที่เททับไปจะเกาะติดโดยสมบูรณ์จากการทำปฏิกิริยาของอีพ็อกซี่

การเททับชั้นก่อนหน้าที่เซ็ตตัวสมบูรณ์แล้ว
หากชั้นก่อนหน้าผ่านการเซ็ตตัวในรูปแบบด้านบนไปจนเซ็ตตัวสมบูรณ์แล้ว อีพ็อกซี่จะแข็ง มีความเงา และความตึงผิวเกิดขึ้นทำให้การเทชั้นต่อไปทับทันทีอาจมีโอกาสที่อีพ็อกซี่จะหลุดร่อนและแยกตัวในภายหลังได้ ก่อนการเททับอีพ็อกซี่ที่เซ็ตตัวสมบูรณ์แล้วเราควรใช้กระดาษทรายหรือผ้าทรายความละเอียด 80-120 ลูบบนผิวที่จะเทอีพ็อกซี่ชั้นต่อไปให้ทั่วพื้นผิวและใช้แปรงปัดเศษออกให้สะอาด (ห้ามใช้น้ำล้าง) โดยรอยขุ่นด้านที่เกิดจากขัดกระดาษทรายจะหายไปและกลับมาใสเหมือนเดิมหลังจากเทอีพ็อกซี่ชั้นถัดไปทับแล้ว

เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจสำหรับการหล่อใสอีพ็อกซี่เรซิ่นที่เราสามารถฝังวัตถุไว้ในเนื้ออีพ็อกซี่ได้ เช่น เศษไม้ ขี้เลื่อย เศษแก้ว ฝาขวด เหรียญ รูปถ่าย หรืออื่นๆ ซึ่งเราสามารถใส่อะไรเข้าไปในเนื้องานก็ได้ แต่วัตถุนั้นจะต้องแห้งสนิท ไม่เปียกชื้น และไม่ปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งอาจมีผลต่อการทำปฏิกิริยาของอีพ็อกซี่
โดยวัตถุอาจเกิดการลอยตัวหรือขยับตัวได้เมื่อเทอีพ็อกซี่ทับไปทันที ทำให้ชิ้นงานมีตำหนิเกิดขึ้น เราจึงต้องยึดติดหรือทากาววัตถุภายในนั้นก่อนเสมอ
การใส่วัตถุที่มีความหนาและเทอีพ็อกซี่ทับทีเดียวเลย อาจมีโอกาสเกิดรอยนูนขรุขระบนผิวงานได้จากการทำปฏิกิริยาของอีพ็อกซี่ เราสามารถเททับเป็นชั้น 2 ชั้นได้ โดยชั้นแรกเทให้มีความหนามิดวัตถุ และเทชั้นบนทับบางๆจะได้ชิ้นงานทีเรียบเงาสวยงามกว่า

หลังจากอีพ็อกซี่เซ็ตตัวโดยสมบูรณ์แล้ว สามารถขัดแต่งชิ้นงานเพิ่มเติมได้ เช่น การลบคมขอบงานให้มน การตัดชิ้นงานให้เหมือนเป็นเนื้อเดียวกับวัสดุที่หล่อทับ เป็นต้น
การขัดหรือตัดชิ้นงานทำให้ผิวงานมีความด้านไม่เรียบเหมือนเดิม จึงควรปรับผิวงานให้เรียบสมบูรณ์ก่อนโดยการขัดกระดาษไล่เบอร์จากหยาบ-ละเอียด จนจบที่ P1000 ก่อนทำการเคลือบเงาหรือปัดเงาเพื่อจบงาน
การปัดเงาอีพ็อกซี่ สามารถใช้ครีมปัดเงาพื้นผิวชนิดต่างๆได้ ชิ้นงานที่ขุ่นด้านจากการขัดกระดาษทรายละเอียดจบที่ P1000 จะกลับมาใสเงาสวยงาม มีความทนทานรอยขีดข่วนต่อการใช้งาน
การขัด-ปัดเงา ควรระวังในกรณีที่ขัดหรือปัดเงาด้วยเครื่องมือในรอบที่สูง อาจเกิดความร้อนจัดบนผิวอีพ็อกซี่ได้ กรณีที่ชิ้นงานมีความหนาไม่เพียงพออาจทำให้อีพ็อกซี่เกิดการอ่อนตัว ผิวงานออกมาย่น ไม่เรียบเหมือนเดิม หรืออาจทำให้รูปทรงผิดเพี้ยนไปจากเดิมได้

ขนาดบรรจุ (เป็นชุด)

  • XS = 300 กรัม
  • S = 750 กรัม
  • M = 1.5 กก.
  • L = 3 กก.
  • XL = 7.5 กก.
  • XXL = 15 กก.

*  Part A และ Part B มีจำหน่ายแยกในแต่ละขนาดบรรจุ

เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:อีพ็อกซี่เรซิ่นหล่อใส 300
คะแนนของคุณ